เอลนีโญ-ลานีญา ทำไมนับวันยิ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในโลก

เอลนีโญ-ลานีญา คำที่เรามักเจอตามข่าวอยู่บ่อยๆ

A Palestinian girl pours water over another girl, who is smiling

สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียรายงานว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญที่เริ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนปี 2023 ได้สิ้นสุดลงแล้ว

ทว่า ปรากฏการณ์นี้ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซ้ำเติมภาวะโลกร้อนระยะยาวที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์

เอลนีโญคืออะไร ?

เอลนีโญเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติที่เรียกรวมกันว่า “ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้เอลนีโญ” (El Niño Southern Oscillation: ENSO) โดยปรากฏการณ์นี้มีสองสถานะตรงกันข้าม ประกอบด้วย เอลนีโญและลานีญา ทั้งสองสถานะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ

การเกิดเอลนีโญ่สามารถระบุได้จากการวัดค่าต่าง ๆ ดังนี้:

  • อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกในเขตร้อนสูงกว่าปกติ
  • ความดันบรรยากาศสูงกว่าระดับปกติที่เมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย (แปซิฟิกตะวันตก)
  • ความดันบรรยากาศต่ำกว่าปกติที่ตาฮิติ หมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส (แปซิฟิกตอนกลาง)
Four maps showing different stages of El Niño and La Niña. La Niña (October 2022) is marked by cool waters in the Pacific. El Niño conditions were emerging by May 2023 with warm waters in the East Pacific, and El Niño had strengthened by October 2023 as warm waters spread. In March 2024, waters had begun to cool as El Niño weakened. [April 2024]

ในสภาวะ “ปกติ” น้ำที่ผิวทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกจะเย็นกว่าทางตะวันออกและอุ่นกว่าทางตะวันตก

“ลมสินค้า” (trade winds) มักจะพัดจากตะวันออกไปตะวันตก และความร้อนจากดวงอาทิตย์จะค่อย ๆ ทำให้น้ำอุ่นขึ้นขณะที่มันเคลื่อนไปในทิศทางนี้

แต่ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ลมเหล่านี้จะอ่อนกำลังลงหรือพัดกลับทิศ ส่งผลให้น้ำผิวทะเลอุ่นไหลไปทางตะวันออกแทน

Infographic showing how in El Niño conditions, warmer ocean surface water tends to be further east than usual, on an area of the Pacific ocean stretching from Australia and Papua New Guinea to the west coast of South and Central America.

ส่วนในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญา ลมตะวันออกไปตะวันตกตามปกตินี้จะแรงขึ้น ผลักให้กระแสน้ำอุ่นให้ไปทางตะวันตกมากขึ้น

กระบวนการนี้ทำให้น้ำเย็นจากด้านล่างของมหาสมุทรดันตัวขึ้นมาด้านบน ส่งผลให้ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณแปซิฟิกตะวันออกเย็นกว่าปกติ

Infographic showing how in La Niña conditions, warmer ocean surface water tends to be further west than usual, on an area of the Pacific ocean stretching from Australia and Papua New Guinea to the west coast of South and Central America.

ชาวประมงชาวเปรูเป็นกลุ่มแรกที่สังเกตปรากฏการณ์นี้ในช่วงศตวรรษที่ 1600 พวกเขาสังเกตเห็นว่า กระแสน้ำอุ่นบริเวณใกล้กับทวีปอเมริกาดูเหมือนจะสูงสุดใกล้ในเดือน ธ.ค.

พวกเขาจึงตั้งชื่อเล่นให้ว่า “เอลนีโญ เด นิบีดาด” ซึ่งแปลว่า พระกุมารเยซูในภาษาสเปน

เอลนีโญ-ลานีญา ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไร ?

ไม่ใช่ทุกเหตุการณ์จะนำไปสู่ผลลัพธ์แบบเดียวกัน ผลกระทบของปรากฎการณ์ทั้งสองแตกต่างกันไปแล้วแต่ภูมิภาค อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์สังเกตการณ์ผลกระทบดังต่อไปนี้:

Rescue workers in floodwaters in Melbourne, Australia in October 2022
คำบรรยายภาพ,ออสเตรเลียต้องเผชิญกับน้ำท่วมรุนแรง ซึ่งเป็นผลจากปรากฏการณ์ลานีญา

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นอย่างไร

อุณหภูมิของโลกโดยทั่วไปจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีปรากฏการณ์เอลนีโญ แต่จะลดลงในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญา

ในช่วงที่มีปรากฎการณ์เอลนีโญจะทำให้กระแสน้ำอุ่นจะกระจายออกไปกว้างกว่าเดิม และจะอยู่ใกล้กับผิวน้ำมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งนี้ส่งผลให้มีการปล่อยความร้อนสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ทำให้อากาศชื้นขึ้นและร้อนขึ้น

ทว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแต่ละภูมิภาคมีความซับซ้อน บางพื้นที่อาจเผชิญหน้ากับอากาศที่ร้อนขึ้นและหนาวลงมากกว่าที่ประเมินไว้ในเวลาอื่น ๆ ของปี

ในปี 2023 ถือเป็นปีที่มีความร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซ้ำร้ายกว่านั้น คือโลกต้องรับมือกับภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงระยะยาวอันเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์อยู่แล้ว สถานการณ์ความร้อนถูกส่งต่อมาจนถึงปี 2024

Typical effects of El Nino events on temperature patterns for each region. Key trends include warming in South America, southeast Asia and southern Africa. Cooling in parts of North America. [June 2023]

ช่วงระหว่างปี 2020 ถึง 2022 โลกเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ลานีญาที่ยาวนานเกินปกติ ทำให้ช่วยควบคุมอุณหภูมิโลกเอาไว้ได้

ผลกระทบจากเอลนีโญต่ออุณหภูมิของสหราชอาณาจักรและในภูมิภาคยุโรปตะวันตกเป็นเรื่องซับซ้อนและไม่แน่นอน อาจทำให้เกิดอากาศเย็นกว่าค่าเฉลี่ยฤดูหนาวปกติ แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละครั้งไป

การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝน

ในช่วงที่มีปรากฏการณ์เอลนีโญ น้ำอุ่นจะผลักกระแสลมกรดแปซิฟิก(Pacific jet stream) ที่มีกำลังแรงให้ไปทางตอนใต้และตะวันออกมาขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาและอ่าวเม็กซิโกจะมีฝนตกชุก

ภูมิภาคเขตร้อนอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และแอฟริกากลาง มักประสบกับสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าเดิม

ส่วนในช่วงที่มีปรากฏการณ์ลานีญา ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะกลับกัน

Typical effects of El Nino events on precipitation patterns for each region. Key trends are drying in many equatorial regions (northern South America, central Africa, southeast Asia and Australia). Southern USA generally becomes wetter than normal. [June 2023]

พายุโซนร้อน

เอลนีโญยังส่งผลกระทบต่อรูปแบบการหมุนเวียนของบรรยากาศ ซึ่งหมายความว่า จะมีพายุโซนร้อนมากขึ้นในแปซิฟิกเขตร้อน แต่มีพายุเดียวกันนี้น้อยกว่าในฝั่งแอตแลนติกเขตร้อน ซึ่งรวมถึงทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา

ในปรากฏการณ์ลานีญา สถานการณ์จะกลับกัน

ระดับคาร์บอนไดออกไซด์

นักวิทยาศาสตร์ยังสังเกตเห็นว่า ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นระหว่างเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนขึ้นในเขตร้อน

หากพืชเจริญเติบโตช้าลงเนื่องจากภัยแล้ง แปลว่าพวกมันดูดซับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้น้อยลง ขณะที่มีไฟป่ามากขึ้นในพื้นที่อย่างเอเชียใต้ ส่งผลให้มีการปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น

The skeleton of a fish in the Navarro lagoon, Buenos Aires

คำบรรยายภาพ,สภาพของบึงน้ำเค็มนาวาร์โร ในกรุงบัวโนสไอเรส ของอาร์เจนตินา ในแห้งขอดอย่างหนักจากภัยแล้งในเดือน ธ.ค. 2022

เหตุใดรูปแบบสภาพอากาศในช่วงที่เกิดเอลนีโญและลานีญาถึงสำคัญ ?

ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาทำให้ปัญหาสภาพอากาศสุดขั้นรุนแรงขึ้นไปอีก ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้างพื้นฐาน อาหาร และพลังงานทั่วโลก

ตัวอย่างเช่น ในช่วงเอลนีโญ น้ำเย็นจะไหลขึ้นสู่ผิวน้ำบริเวณนอกชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ลดลง สารอาหารที่จำเป็นต่าง ๆ ที่จะถูกพัดพาขึ้นมาจากพื้นมหาสมุทรขึ้นจะลดน้อยลงด้วย นั่นจึงส่งผลให้มีสารอาหารสำหรับสัตว์ทะเลอย่างหมึกและปลาแซลมอนน้อยลง และส่งผลกระทบต่อปริมาณสัตว์น้ำที่ชาวประมงในอเมริกาใต้จับได้อีกทอดหนึ่ง

A fisherman carries freshly caught tuna at La Poza beach in Manta, Ecuador's largest seaport

คำบรรยายภาพ,ปรากฏการณ์เอลนีโญสามารถส่งผลกระทบกับปริมาณสัตว์ทะเลที่ชาวประมงอาจจับได้

นอกจากนี้ องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO) ยังรายงานว่า ภัยแล้งและน้ำท่วมที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงในปี 2015-2016 ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของประชากรกว่า 60 ล้านคน

การศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่าปรากฏการณ์เอลนีโญมีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต

เอลนีโญและลานีญาเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน

ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญามักเกิดขึ้นทุก ๆ 2-7 ปี และมักจะกินเวลาราว 9-12 เดือนต่อครั้ง

ปรากฏการณ์ทั้งสองไม่ค่อยเกิดสลับกันมากนัก ลานีญาเกิดขึ้นน้อยกว่าเอลนีโญ

Flood damage in the Forbes CBD in Forbes, New South Wales, Australia, 19 November 2022

คำบรรยายภาพ,นี่ถือว่าเป็นระยะเวลาสามปีซ้อนแล้วที่ปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เผชิญน้ำท่วม

สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อเอลนีโญและลานีญาหรือไม่

ปี 2021 คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือไอพีซีซี (IPCC) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติ รายงานว่า เหตุการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1950 นั้นมีความรุนแรงมากกว่าช่วงระหว่างปี 1850 ถึง 1950

มันยังบอกอีกว่าข้อมูลจากวงปีในต้นไม้และหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่าความถี่และความรุนแรงของปรากฏการณ์เอลนีโญนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ช่วงปี 1400

ไอพีซีซี สรุปว่ายังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่บ่งชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อปรากฏการณ์เอลนีโญ

ทว่าโมเดลสภาพภูมิอากาศบางโมเดลชี้ว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งอาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก แต่ยังไม่แน่ชัด

A woman drinks water on Copacabana Beach in Rio de Janeiro, Brazil, during a heatwave
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หนทางแก้การเกิด “เอลนีโญ”

     องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) ได้เปิดเผยว่า อากาศที่ร้อนขึ้นจะยิ่งทำให้ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” มีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการเกิด “เอลนีโญ” มีสาเหตุหลักมาจากการปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก” ดังนั้นการจะทำให้ “เอลนีโญ” รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ลดความรุนแรงลง พวกเราทุกคนต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันอย่างจริงจังมากขึ้น อันจะเป็นหนทางสำคัญที่จะช่วยคืนความสมดุลให้กับโลกใบนี้ ลดความรุนแรงของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างได้ผลที่สุด

*หมายเหตุ : โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 1 ปี หากโลกไม่หมุนรอบตัวเอง บริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลกจะเป็นแถบความกดอากาศต่ำ (L) มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากแสงอาทิตย์ตกกระทบเป็นมุมฉาก ส่วนบริเวณขั้วโลกทั้งสองจะเป็นแถบความกดอากาศสูง (H) มีอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากแสงอาทิตย์ตกกระทบเป็นมุมลาดขนานกับพื้น อากาศร้อนบริเวณศูนย์สูตรยกตัวขึ้นทำให้อากาศเย็นบริเวณขั้วโลกเคลื่อนตัวเข้าแทนที่ การหมุนเวียนของบรรยากาศบนซีกโลกทั้งสองเรียกว่า “แฮดเลย์ เซลล์” (Hadley cell) แต่ความเป็นจริง โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง เซลล์การหมุนเวียนของบรรยากาศ จึงแบ่งออกเป็น 3 เซลล์ ได้แก่ แฮดเลย์ เซลล์ (Hadley cell), เฟอร์เรล เซลล์ (Ferrel cell) และ โพลาร์ เซลล์ (Polar cell) ในแต่ละซีกโลก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back To Top